โฟเลต / กรดโฟลิก (Folic Acid)

โฟเลต / กรดโฟลิก (Folic Acid)

 

ป้องกันความพิการของทารกในครรภ์

ลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ

รักษาโรคโลหิตจางชนิดเมทะโลบลาสต์

 

    ชื่อทางเคมี

     กรดโฟลิก (Folic Acid), โฟลาซิน (Folacin)

 

   ค่า RDA สำหรับผู้ใหญ่

     200 ไมโครกรัม

 

    แหล่งกรดโฟลิกที่สำคัญ (ปริมาณเป็นหน่วยไมโคมกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

     ตับวัว 290 ไมโครกรัม/100 กรัม, ธัญพืชเสริมวิตามิน 250 ไมโครกรัม/100 กรัม, ถั่วแบล็กอาย 210 ไมโครกรัม/100 กรัม, กะหล่ำดาว 110 ไมโครกรัม/100 กรัม, ถั่วลิสง 110 ไมโครกรัม/100 กรัม, ปวยเล้ง 90 ไมโครกรัม/100 กรัม, บรอกโคลี่ 64 ไมโครกรัม/100 กรัม, ผักกาดหอม 55 ไมโครกรัม/100 กรัม, อะโวกาโด 11 ไมโครกรัม/100 กรัม    

 

     โฟเลต ออกฤทธิ์อย่างไร

     กรดโฟลิกคือโฟเลตที่เกิดจากการสังเคราะห์เพื่อใช้ในอุตสาหรกรรมอาหารเสริม  และใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารเพื่อเสริมโฟเลต เช่น ผสมในธัญพืชและยีสต์สกัด  ร่างกายสามารถดูดซึมกรดโฟลิกได้ดีกว่ากรดโฟเลต 

     โฟเลตมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อพัฒนาไขสันหลังที่สมบูรณ์ของตัวอ่อนในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์  ช่วยป้องกันโรคกระดูกสันหลังโหว่ (Spina Bifida) 

     โฟเลตยังมีความจำเป็นยิ่งเพื่อสร้าง เม็ดเลือดแดงที่มีคุณภาพ  และช่วยลดระดับโฮโมซีสเทอีน  ซึ่งหากมีระดับสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ  โฟเลตยังจำเป็นเพื่อสลายโปรตีนในร่างกาย



    
ตัวช่วยดูดซึม

      กินโฟเลตพร้อมอาหารดีที่สุด  วิตามินบีรวม (โดยเฉพาะวิตามินบี 12) ช่วยให้ร่างกายดูดซึมโฟเลตได้ดียิ่งขึ้น

     
    ตัวยับยั้งการดูดซึม

      การกินสุราครั้งละมากๆ เป็นประจำ  จะทำให้ระดับโฟเลตในร่างกายลดต่ำลง  ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือยา Biguanides และ Metformin (ใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน)  ล้วนลดระดับโฟเลตในร่างกายได้เช่นกัน

    
     ข้อควรระวัง

     การได้รับกรดโฟลิกติดต่อกันเป็นเวลานานอาจรบกวนการดูดซึมเกลือแร่สังกะสะในร่างกาย และอาจจะกลบเกลี่ยนอาการขาดวิตามินบี 12  ในการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดของผู้สูงวัย  ผู้ป่วยโรคลมชักควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนใช้ เพราะกรดโฟลิกสามารถลดฤทธิ์ของยาต้านการชัก


    
ประโยชน์ของกรดโฟลิกในการรักษาโรค

      - โรคหัวใจ  การกินกรดโฟลิกเสริมอาจช่วยป้องกันอัตราตายด้วยโรคหัวใจในชายได้ร้อยละ 7 และอัตราตายที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจในหญิงได้ร้อยละ 5

     - โรคโลหิตจาง อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียที่เกิดจากโรคโลหิตจาง (เนื่องจากได้รับกรดโฟลิกต่ำเกินไป)  สามารถรักษาได้โดยการกินผลิตภัณฑ์เสริมกรดโฟลิก  ภาวะโลหิตจางในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ก็สามารถรักษาได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินบี 12 กรดโฟลิก และเหล็กร่วมกัน

      - มะเร็งคอมดลูก  สตรีที่กินยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดและขณะเดียวกันมีระดับโฟเลตในกระแสเลือดลดต่ำลง  อาจเสี่ยงต่อการเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่คอมดลูกซึ่งอาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้  พบจากการตัดเนื้อเยื่อมดลูกส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการว่าการเสริมด้วยโฟเลตขนาด 10 มิลลิกรัมทุกวัน ช่วยให้เซลล์มีพัฒนาการดีขึ้นภายในสามเดือน

      - ภาวะกระดูกพรุน  สารโฮโมซึสเทอีนที่เพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือนจะรบกวนการสร้างกระดูก  นำไปสู่ภาวะกระดูกพรุน  กรดโฟลิกขนาด 5 มิลลิกรัม/วัน อาจทำให้กระดูกแข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนโดยลดระดับของโฮโมซีเทอีน

      - ซึมเศร้า  การเพิ่มปริมาณโฮโมซีสเทอีน  อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะอารมณ์ไม่แจ่มใส  ซึมเศร้า  ผลิตภัณฑ์เสริมกรดโฟลิกจะช่วยลดระดับโฮโมซีสเทอีนลงได้

   

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     บีซีวี (BCV) (บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ, ลดไขมันหลอดเลือด, ช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่น)

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2