ผลข้างเคียงของยาสเตียรอยด์ (Steroids)

ผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์ (Steroids)

 

    การรักษาอาการของูมิต้านทานทำร้ายตนเองือ  การใช้ยาต้านการอักเสบเป็นหลัก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาในกลุ่มของสเตียรอยด์  โดยทั่วไปจะใช้สเตียรอยด์หรือคอร์ติโคสเตียรอยด์กันมาก  การเอายากลุ่มนี้มาใช้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ลดอาการเสียหายของเนื้อเยื่อที่เกิดอักเสบ  จุดอ่อนของการรักษาแบบนี้คือ  จะต้องใช้ยาตลอดไป  แทบจะหยุดยาไม่ได้  ยากลุ่มสเตียรอยด์มีผลข้างเคียงมาก  และส่วนใหญ่ร้ายแรง

     สเตียรอยด์ เป็นชื่อเรียกจากกลุ่มฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากต่อมหมวกไต  ซึ่งที่ต่อมนี้จะสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน(ฮอร์โมนชาย) ด้วย สำหรับสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์นั้น เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค รวมถึงใช้ทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าวได้ โดยยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์นี้ กฎหมายกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง และต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น

    ประโยชน์ของสเตียรอยด์

     สเตียรอยด์นั้น หากนำมาใช้อย่างถูกตามหลักวิชาการ จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก สเตียรอยด์ที่นำมาใช้ทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์ในการรักษาดังต่อไปนี้
 
     - ใช้เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมน โดยปกติจะใช้สเตียรอยด์เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ที่มีสาเหตุมาจาก ความบกพร่องของต่อมหมวกไต และจากความบกพร่องของต่อมใต้สมองส่วนหน้า
  
     - ใช้รักษาโรคต่าง ๆ สเตียรอยด์จะถูกใช้เมื่อใช้ยาอื่นไม่ได้ผล หรือโรคนั้นไม่อาจ ควบคุมด้วยยาอื่น เนื่องจากมีอาการข้างเคียงสูง วัตถุประสงค์ที่นำสเตียรอยด์ไปใช้ก็เพื่อบรรเทาอาการอักเสบและ/หรือกดภูมิคุ้มกันในโรคต่าง ๆ นั้น อาทิ
 
     1. โรคภูมิแพ้ สเตียรอยด์ เมื่อใช้ในโรคภูมิแพ้ จะให้ผลดีและรวดเร็วในการควบคุมอาการหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด ไข้หวัดเรื้อรังชนิดแพ้อากาศ ไข้ละอองฟาง
  
     2. การแพ้ยาและโรคผื่นคันตามผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ แต่เนื่องจากยามีอันตรายจากการใช้สูง จึงควรเก็บไว้ใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ และใช้ในระยะเวลาสั้น เช่น เป็นโรคหวัดคัดจมูกเรื้อรังชนิดแพ้อากาศ ที่ใช้ยาต้านฮีสตามีนไม่ได้ผล หรือเป็นโรคหืด ใช้ยาขยายหลอดลมแล้วไม่ได้ผล
 
     3. โรคผิวหนัง  สเตียรอยด์ สามารถลดอาการทางผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ การอักเสบและโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการคันต่าง ๆ แต่การใช้ยาสเตียรอยด์ ไม่ใช่เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ เป็นเพียงยับยั้งอาการคันและอาการอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา ดังนั้น เมื่อหยุดยาก็จะกลับมาเป็นอีก  และอาจมีผลทำให้การติดเชื้อลุกลามได้ เพราะสเตียรอยด์มีผลในการกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
 
     4. โรคตา  สเตียรอยด์ ใช้ได้ผลในการรักษาโรคของตาที่เกิดจากอาการแพ้ เช่น อาการเคืองตา เนื่องจากการแพ้สารบางชนิด ที่ไม่ใช่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งแพทย์มักรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตา ดังนั้น จึงห้ามใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ในกรณีที่ติดเชื้อ และยานี้ไม่มีผลในการรักษาต้อ-กระจก นอกจากนี้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคต้อหินได้
  
     5. โรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์  การรักษาโรคนี้ปกติจะใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ก่อน หากมีอาการอักเสบที่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณาให้สเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการเฉพาะครั้ง กรณีที่มีการอักเสบเฉพาะบางข้อนั้น การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ อาจช่วยลดการอักเสบได้ในระยะแรก อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อในข้อร่วมด้วย ห้ามฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อโดยตรงอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงขึ้น

     อันตรายจากการใช้สเตียรอยด์

     เนื่องจากสเตียรอยด์เป็นยาซึ่งมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายแทบทุกระบบ การใช้สเตียรอยด์อาจนำไปสู่อันตรายมากมายหลายประการ ที่สำคัญได้แก่
 
     - การติดเชื้อ  การใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูงมีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังอาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้ตรวจพบโรคเมื่ออาการรุนแรงแล้ว
  
     - กดการทำงานของระบบที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งสเตียรอยด์ฮอร์โมน ประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย 3 แห่ง ด้วยกันคือ ฮัยโปธาลามัส (Hypothalamus) ต่อมพิทุตารี (Pituitary gland) และต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ในภาวะที่มีระดับของคอร์ติโซล (Cortisol) ในเลือดสูงจะมีการกระตุ้นจากฮัยโปธาลามัสไปยังต่อมหมวกไตให้ลดการสร้างสเตียรอยด์ ในทางตรงกันข้ามถ้าระดับของคอร์ติโซลต่ำ จะมีผลกระตุ้นให้ต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมนนี้เพิ่มขึ้น
  
     - การให้สเตียรอยด์ขนาดสูง จะไปกดการทำงานของระบบอวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างและควบคุมการการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของยา ที่ได้รับและระยะเวลาในใช้ยา เช่น ถ้าให้สเตียรอยด์ในขนาดที่เทียบเท่ากันเพรดนิโซโลน 5 มิลลิกรัมต่อวัน แทบจะไม่มีผลที่จะกดการทำงานของระบบนี้เลย แต่ถ้าให้ขนาดสูงเทียบเท่ากับเพรดนิโซโลน 15 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานานกว่า 1-2 เดือน จะมีผลต่อการกดการสร้างฮอร์โมนได้มาก ทำให้เมื่อหยุดใช้ยานี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะ เครียด
  
     - แผลในกระเพาะอาหาร  สเตียรอยด์มีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทดแทนเนื้อเยื่อเก่าที่หลุดไป นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายยังพบว่า มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นด้วย การใช้สเตียรอยด์อาจทำให้มีอาการกระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออก  ในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่มีอาการปวดมาก่อน ถึงแม้จะยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่า  การให้ยาลดกรดร่วมกับสเตียรอยด์จะมีผลช่วยป้องกันการเกิดแผลได้ แต่ในทางปฏิบัติก็มีแพทย์จำนวนไม่น้อยที่นิยมให้ยาดังกล่าวร่วมกัน
 
     - ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง  สเตียรอยด์อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ และอารมณ์ของผู้ใช้ยาได้ การใช้ยาขนาดสูงจะทำให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้มีอาการติดยา
  
     - นอกจากนี้ยังพบอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ เจริญอาหาร กระสับกระส่าย หงุดหงิด เป็นต้น 
     - กระดูกผุ (Osteoporosis) การใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน มีผลทำให้กระดูกผุได้ ดังนั้น ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดกระดูกผุอยู่แล้ว เช่น ผู้สูงอายุ คนที่เป็นโรคไขกระดูก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
 
     - ยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย เนื่องจากสเตียรอยด์มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็ก การให้ยาขนาดสูงในเด็ก จึงไม่ให้ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานาน แต่จะให้ยาแบบวันเว้นวัน เพราะจะทำให้มีฤทธิ์และอาการไม่พึง-ประสงค์น้อยกว่า
 
     - ทำให้ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ผลของสเตียรอยด์ ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือโปแตสเซียมทางปัสสาวะมาก ซึ่งป้องกันได้โดยให้ลดการกินโซเดียม และกินอาหารที่มีโปแตสเซียมสูงแทน เช่น ส้ม กล้วย ผู้ที่มีระดับโปแตสเซียมต่ำมาก อาจมีผลทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้นได้
 
     - ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง  การใช้สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาและแขน ซึ่งเมื่อลดขนาดยาลงก็จะมีผลทำให้อาการดีขึ้น 
และต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเป็นปกติ
  
     - ผลต่อตา ยาหยอดตาบางชนิด มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากใช้ไปนาน ๆ อาจทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย บางรายอาจทำให้ตาบอดได้
 
     - ผลต่อผิวหนัง สเตียรอยด์ในรูปของยาทาภายนอก มีผลทำให้ผิวหนังบางเป็นรอยแตกและมีลักษณะเป็นมัน การใช้สเตตียรอยด์ที่สูตรโครงสร้างมีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบ ถ้าทาบริเวณใบหน้าอาจจะทำให้หน้ามีผื่นแดง และมีอาการอักเสบของผิวหนังรอบ ๆ ในบางรายอาจมีสิวเกิดขึ้นด้วย 

     - ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ  สเตียรอยด์มีผลทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า Cushing 's Syndrome ลักษณะพบใน ผู้ป่วยประเภทนี้ เช่น อ้วน ขนดก ระบบประจำเดือนผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง ปวดหลัง เป็นสิว มีอาการทางจิตใจ หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เป็น
ต้น

 


     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

ทรานเฟอร์ แฟกเตอร์ ไตร-แฟกเตอร์ (ปรับสมดุลย์ภูมิคุ้มกัน, ภูมิแพ้, หอบหืด, ไซนัส, รูมาตอยด์, สะเก็ดเงิน, เบาหวาน, SLE)

ทรานเฟอร์ แฟกเตอร์ รีนิวออล (เสริมภูมิคุ้มกันผิวหนัง, ผิวหนังอักเสบ, ภูมิแพ้ผิวหนัง, สิว) 

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2