โคเอ็นไซม์คิวเท็น (CoQ10)

โคเอ็นไซม์คิวเท็น (CoQ10)


เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานกล้ามเนื้อหัวใจ

ลดความดันโลหิต, ลดริ้วรอย, โรคเหงือก

ต้านอนุมูลอิสระ, เสริมระบบภูมิคุ้มกัน

 

     โคเอ็นไซม์คิวเท็น (CoQ10) มีชื่อเรียกพ้องกันอยู่มากมาย, บางคนเรียก Q10 หรือ CoQ10 หรือ Ubiquinone หรือ Ubiquinole หรือ Ubidecarenone หรือ Ubiquitous หรือ Coenzyme Quinone แต่มีสูตรทางเคมีเหมือนกัน เพราะเป็นตัวเดียวกัน

     การศึกษาคุณสมบัติของ CoQ10 ได้เริ่มขึ้นนับตั้งแต่ปี พศ.2500 เป็นต้นมา  และการค้นคว้าของ ปีเตอร์ มิตเชลล์ (Peter Mitchell) ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี พศ.2521

     ทั้งนี้เขาได้รับรางวัลจากการค้นพบว่า  การทำงานของโคเอ็นไซม์คิวเท็นเกิดขึ้นในระดับเซลล์  และพบว่ามีการถ่ายทอดพลังงานโดย CoQ10 เข้าช่วยในการถ่ายทอดอิเลคตรอน  อันเป็นกระบวนการสำคัญเพื่อใช้สร้างพลังงานหน่วยพื้นฐานของร่างกาย คือ ATP (Adenosine Triphosphate)  ซึ่งถือเป็นพลังงานโดยประมาณ 95% ของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายต้องการ

     CoQ10 เป็นสารประกอบคล้ายวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน หรือจัดอยู่ในจำพวกวิตามินชนิดละลายในไขมัน  โดยพบในเซลล์ทุกแห่งในร่างกายคนเรา  ตรงบริเวณเยื่อหุ้มของไมโตคอนเดรียในนิวเคลียสของเซลล์  ซึ่งไมโตคอนเดรียลนั้นทำหน้าที่ผลิตพลังงานให้กับเซลล์  เปรียบเสมือนโรงงานสร้างพลังงาน ATP  และ CoQ10 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจแบบใช้ออกซิเจน  ซึ่ง CoQ10 เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างพลังงาน  ATP

     อวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงจะมีจำนวนไมโตรคอนเดรียมาก  และก็มี CoQ10 สูง เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง ส่วนอวัยวะอื่นๆ ก็พบ CoQ10 แต่พบค่อนข้างน้อย  เนื่องจากอวัยวะดังกล่าวต้องการพลังงานน้อยกว่าจึงมีจำนวนไมโตคอนเดรียน้อยกว่า

     เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายสร้าง CoQ10 ขึ้นได้เอง  โดยสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ ไทโรซีน (Tyrosine) และฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine)  กับวิตามินอีกหลายชนิด คือ วิตามินบี 2, วิตามินบี 3,  วิตามินบี 6, กรดโฟลิก, วิตามินบี 12, วิตามินซี และกรดแพนโททีนิก

     CoQ10 ได้รับการขนานนามว่าเป็นสารอาหารมหัศจรรย์มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 60 นักวิทยาศาสตร์พบว่า หากร่างกายขาด CoQ10 ถึง 75% ร่างกายจะหยุดทำงานทันที  เป็นผลให้เสียชีวิต  เพราะว่า CoQ10 เป็นเสมือนแหล่งกำเนิดพลังงานให้กับเซลล์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมอง, หัวใจ และตับ  เมื่อขาดพลังงานไปมากจึงทำให้อวัยวะเหล่านั้นอ่อนแรงลงจนทำงานไม่ได้

     โดยปกติร่างกายจะผลิต CoQ10 ได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น, มีความเครียด หรือผู้ทานมังสวิรัติ  ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับกรดอะมิโนและวิตามินไม่พอจะนำมาสร้างได้เพียงพอ

     ปัจจุบันได้มีการนำเอา CoQ10 ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสุขภาพ ยา และเครื่องสำอาง
 

     าการเมื่อขาด CoQ10

     แม้ว่าร่างกายสามารถสังเคราะห์ CoQ10 ได้  แต่มีรายงานการขาดในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจและหลอดเลือด และในโรคเหงือกและฟัน  อีกทั้งพฤติการณ์รมการทานอาหารที่ไม่ถูกต้องก็ทำให้ขาด CoQ10 ได้

     จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า  การลดลงของ CoQ10 เกิดขึ้นพร้อมกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น และเกี่ยวข้องกับการเสื่อมถอยของระบบภูมิคุ้มกัน

     อาการของผู้ที่ขาด CoQ10 อาจแตกต่างกันไป เช่น รู้สึกอ่อนล้า ไม่มีเรี่ยวแรง หรือมีอาการสมองไม่ปลอดโปร่ง รวมทั้งอาจเกิดผิวหนังเหี่ยวย่น แก่ก่อนวัย

     ซึ่งในที่สุดการขาด CoQ10 อาจนำไปสู่การทำงานที่บกพร่องหรือเป็นโรคของอวัยวะที่มีความสำคัญต่อชีวิตอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ สมอง 

      ขนาด CoQ10 ที่ควรใช้

     - นาดที่แนะนำสำหรับคนปกติทั่วไป คือ 30 มิลลิกรัม/วัน  มีการประเมินว่าในแต่ละวันเราได้รับ CoQ10 จากอาหารประมาณ 2-20 มิลลิกรัม  แต่หากเน้นอาหารที่เป็นแหล่งจำพวกถั่ว อาหารทะเล ผักใบเขียว ก็น่าจะได้รับเพียงพอ  มีบางงานวิจัยให้ทานมากถึง 100-300 มิลลิกรัม/วัน

     - สำหรับคนที่มีอาการโรคชรา ใช้เสริมระบบภูมิคุ้มกัน นักกีฬาหรือผู้ที่ต้องการใช้กำลัง  ใช้ในขนาด 50-100 มิลลิกรัม/วัน

     - ผู้ที่รู้สึกอ่อนล้าเป็นประจำ ผู้ป่วยเบาหวาน ใช้ในขนาด 100-200 มิลลิกรัม/วัน

     - ผู้ที่มีปัญหาเหงือกอักเสบ 60-100 มิลลิกรัม/วัน

     - โรคหัวใจล้มเหลว 100-300 มิลลิกรัม/วัน

     - ใช้ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด 30-100 มิลลิกรัม/วัน

     - สำหรับรักษาอาการปวดอย่างรุนแรงที่หัวใจ 90-180 มิลลิกรัม/วัน

     - สำหรับรักษาหัวใจวายและขยายกล้ามเนื้อหัวใจ 180-360 มิลลิกรัม/วัน

     ทั้งนี้ควรทานติดต่อกันนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป  เนื่องจากต้องใช้เวลากว่าจะเริ่มเห็นผล  ควรเก็บไว้ในที่ปราศจากแสง และที่เย็น แต่ห้ามแช่แข็ง

     การใช้ CoQ10 ในการรักษาโรค

     - โรคหัวใจ  CoQ10 มีผลดีต่อการทำงานของระบบหัวใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างชัดเจน  จึงให้มีมีการจ่าย CoQ10 ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างมาก  และได้ผลอย่างกว้างขวาง  แพทย์บางท่านจ่ายอาหารเสริม CoQ10 ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ และคนญี่ปุ่นนิยมใช้ CoQ10 เป็นอาหารเสริมกันทั่วไป

     - มีการทดสอบบางชิ้นทำการทดลองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน  เพิ่มความแข็งแรงของผู้ป่วยโรคเอดส์  ควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  เพิ่มพละกำลังในพวกนักกีฬา  ซึ่งยังได้ผลสรุปออกมาไม่ค่อยชัดเจน

     - ช่วยลดความดันโลหิต  โดยผู้ป่วยที่มีปัญหารโรคความดันโลหิตสูง  ซึ่งเชื่อกันว่ามักมีอาการขาด CoQ10 เมื่อทาน CoQ10 อาจช่วยให้อาการความดันโลหิตสูงดีขึ้น  เพราะสามารถทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

     - ช่วยเรื่องความจำในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์  ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ มีอาการหลงลืมชื่อตนเองและสิ่งรอบตัว ซึมเศร้า สับสน ไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้  โดยสาเหตุหนึ่งมากจากความเสียหายของสมองที่เกิดจากการทำลายโดยอนุมูลอิสระ  การได้รับ CoQ10 ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้  เนื่องจากใน CoQ10 มีฟีนีลอะลานิน ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น  แพทย์บางท่านได้แนะนำให้ผู้ป่วยที่อายุเกินกว่า 50 ปีขึ้นไปทาน CoQ10 เพื่อที่จะช่วยอาการขี้หลงขี้ลืม และช่วยชะลอการทำลายของเซลล์สมอง และชะลอโรคชรา

     - ลดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ด้วยคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  มีการนำมาใช้เป็นเครื่องสำอาง สำหรับลดการเกิดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากแสงแดด มลภาวะต่างๆ

     - โรคเหงือก หรือที่เรียกว่า โรคปริทันต์  เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ถูกปล่อยให้สะสมอยู่บนตัวฟัน  ทั้งแบคทีเรียและสารพิษที่แบคทีเรียสร้าง จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเหงือก  หากไม่รักษาจะลุกลาม  การได้รับ CoQ10 เข้าไปในร่างกายจะช่วยลดและบรรเทาอาการเหงือกบวม ฟันโยก ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น

     - ป้องกันโรคมะเร็ง  เนื่องจากคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  จึงทำให้เชื่อว่า CoQ10 สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้  แต่ข้อมูลยังไม่หนักแน่น

     - กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย  มีการศึกษาบางชิ้นที่แสดงว่า CoQ10 ให้ผลดีต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย  ช่วยให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคได้ดีขึ้น

     - ลดระดับน้ำตาลในเลือด  พบว่า CoQ10 ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน

 

     ผลข้างเคียงของ CoQ10

     การใช้ CoQ10 ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการผลข้างเคียงคือ ความรู้สึกอึดอัดไม่สบายในช่องท้อง ลดความอยากอาหาร คลื่นไส้ ท้องเสีย และมีคนจำนวนน้อยมากที่พบว่ามีการเพิ่มของระดับเอ็นไซม์ SGOT 

     การดูดซึม

     - จากการทดลองพบว่า  การดูดซึม CoQ10 จะเพิ่มขึ้น 30% หากได้รับร่วมกับยาในกลุ่มไบโอพรีน (Bioprine)

    - CoQ10 จะทำงานเสริมฤทธิ์ได้ดีกับคาร์นิทีน และกรดแพนโทธีนิค 

    - การเสริมด้วย CoQ10 จะช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาลดระดับคอเรสเตอรอล 

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

    บีซีวี (BCV)  : บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ, ลดไขมันหลอดเลือด, ช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่น

      ยาสีฟัน ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ (โรคเหงือกอักเสบ, เหงือกร่น, กลิ่นปาก, แผลในปาก)

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2