สารสกัดจากกระเทียม

สารสกัดกระเทียม

 

ลดระดับคอเลสเตอรอล

ทำลายเชื้อโรค แบคทีเรีย

ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิต้านทาน

 

      กระเทียม  เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน  หัวมีลักษณะเป็นกลีบหลายๆ กลีบเกาะกันแน่น  แต่ละกลีบมีเยื่อบางๆ สีขาว หรือขาวอมชมพูหุ้มอยู่  ใบมีลักษณะแบบเรียวแหลม สีเขียว ลักษณะคล้ายใบหญ้า  ดอกมีสีขาวเป็นช่อเล็กๆ เป็นกระจุกแบบซี่ร่ม

     มีการนำหัวกระเทียมมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคกันมาแต่โบราณในหลายประเทศ  สูตรยาโบราณและยาพื้นบ้าน กล่าวว่า กระเทียมถูกใช้เพื่อเป็นยาขับลม ยาขับเสมหะ ใช้ยับยั้งการแข็งตัวของเกล็ดเลือด  และแก้อาการชักกระตุก การรับประทานกระเทียมสดทุบทั้งกลีบ  จะช่วยเรื่องอาการอ่อนเพลีย สมรรถภาพทางเพศ และรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน

     สำหรับสูตรโบราณจะใช้โดยการทานกระเทียมแบบสดๆ ทั้งกลีบ หรือคั้นเอาน้ำมาดื่ม หรือต้มกินกับนม หรือนำมาทุบพอกรักษาโรคผิวหนัง

      มาจนกระทั่งยุคปัจจุบัน  หลายสิบปีที่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์  ตีพิมพ์รายงานออกมาหลายๆ งาน  เป็นที่น่าเชื่อถือว่าให้ผลดีในการรักษาโรคได้หลายชนิด  โดยมีการวิจัยทดลองทั้งในสัตว์ทดลองและในคนแล้ว  พบว่า  สาระสำคัญในกระเทียมสดมีประโยชน์ต่อร่างกาย

     จนมีการทำเป็นกระเทียมอัดเม็ด  หรือน้ำมันกระเทียมในรูปแบบแคปซูล  และรูปแบบอื่นๆ  เพื่อสะดวกในการใช้  และขจัดกลิ่นฉุนจากที่ต้องทานสด ๆ ในปริมาณมาก

 

     สารสำคัญในกระเทียม

     - น้ำมันกระเทียม  มีอยู่ประมาณ 0.1-0.4% ประกอบด้วยสารอินทรีย์กำมะถันจำนวนมากมาย  ที่สำคัญได้แก่

       - อัลลิอิน (Alliin), อัลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นน้ำมันใสไม่มีสี ละลายน้ำได้

       - สารไดอัลลิลไตรซัลไฟต์ (Dially Trisulfide),  เมททิลอัลลิลไตรซัลไฟต์ (Methyl Allyl Trisulfide), อัลลิลโปรปิลไดซัลไฟท์ (Allyl Propyl Disulfide)

       - เอนไซม์หลายชนิด เช่น อัลลิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยนอัลลิอินให้เป็นอัลลิซิน  นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์ Peroxidase, Invertase, Tyrosinase

       - นอกจากนี้ในหัวกระเทียมยังประกอบด้วยโปรตีนน้ำตาล กรดไขมัน กรดอะมิโน แร่ธาต และวิตามินหลายชนิด  เช่น วิตามินบี 1, วิตามินบี 2, วิตามิน ซี

 

     ประโยชน์ของกระเทียมในการรักษาโรค

      - ลดระดับคอเลสเตอรอล  ไดซัลไฟต์สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ในเลือดได้ภายในระยะสั้น คือ 4-12 สัปดาห์  โดยมีข้อมูลงานวิจัยหลายชิ้นให้การรับรองอย่างหนักแน่น  แต่จะมีการเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL)  หรือไม่นั้นยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน  ยังต้องมีการพิสูจน์ต่อไป 

      - ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด  มีงานวิจัยนำไปลดความดันโลหิตได้ประมาณ 10 มิลลิเมตรปรอท  ทำให้ผนังหลอดเลือดสะอาดขึ้น  จึงมีผลดีต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ

      - ลดระดับน้ำตาลในเลือดสัตว์ทดลอง  และทำให้สัตว์หลั่งอินซูลินมากขึ้น  ในคนนั้นมีบางรายบอกว่ากระเทียมช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้  แต่ก็มีรายงานที่ขัดแย้งกันว่า  ไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ทั้งในคนปกติและคนที่เป็นโรคเบาหวาน

      - ทำลายเชื้อโรค 

           - อัลลิซิน ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียบางตัว และลดการอักเสบได้ ป้องกันโรคผิวหนังหลายชนิด เช่น ฆ่าเชื้อรา กลากเกลื้อน  ข้อมูลการใช้กระเทียมสด ทาผิวหนังบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนนั้นได้รับการยอมรับมานาน  ทั้งการแพทย์แผนไทยและในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์

            - อัลลิอิน  ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียบางตัว  มีการนำไปใช้กับผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน แล้วใช้ได้ผล 

      - ป้องกันมะเร็ง  ในกระเทียมมีซิลิเนียม ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมการทำงานของร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ  กำจัดสารก่อมะเร็งหลายชนิด  โดยเฉพาะสาร Aflatoxin ที่มาจากถั่ว ลดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ อนุมูลอิสระไปลดไขมันชนิดเลวได้ด้วย

      - กระตุ้นภูมิต้านทาน  กำมะถันซึ่งมีอยู่ในปริมาณสูง ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย ลดอาการหวัด อาการแพ้ ภาวะติดเชื้อง่าย ทำลายเชื้อโรค ป้องกันโรคผิวหนังหลายชนิด  บำรุงข้อต่อและกล้ามเนื้อ และกำจัดสารพิษอีกด้วย

      - ย่อยอาหาร  เอนไซม์ในหัวกระเทียมช่วยย่อยอาหาร

 

     ผลข้างเคียง

     ยังไม่มีใครพบความเป็นพิษแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังจากการใช้กระเทียมเลย  ยกเว้นการที่มีกลิ่นฉุนรุนแรง  กลิ่นของกระเทียมสามารถซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปตามรูขุมขนของร่างกาย  จึงมีกลิ่นกระเทียมออกมาทางปากและทางผิวหนัง  เป็นกลิ่นตัวที่มีกลิ่นกระเทียม

     มีรายงานอาการแพ้กระเทียมบ้าง  เช่น คนที่แพ้หอมหัวใหญ่อาจจะแพ้กระเทียมด้วย  โดยมีผื่นตามผิวหนัง หรือผิวหนังไหม้คล้ายกับไหม้แดด  การทาผิวหนังเพื่อฆ่าเชื้อราอาจเกิดผื่นแดงได้สำหรับคนที่แพ้กระเทียม

     บางคนที่แพ้กระเทียมแล้วมีอาการน้ำตาไหล น้ำมูกไหล หอบหืด มึนงง ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก มีไข้ ทำให้ลำคอไหม้ เกิดลมในท้อง ท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองกระเพาะอาหาร อาจมีอาการขย้อนและปวดแสบปวดร้อนยอกอก

     โดยอาจมีอาการอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ได้  อาการเหล่านี้ที่เป็นจะหายไปเมื่อเลิกใช้กระเทียม

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

    บีซีวี (BCV) : บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ, ลดไขมันหลอดเลือด, ช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่น

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2