ทองแดง (Copper)

ทองแดง (Copper)

 

ลดคอเลสเตอรอล

ลดความเสี่ยงจากภาวะกระดูกพรุน

บรรเทาปวดจากข้ออักเสบ

 

     ชื่อทางเคมี

     คอปเปอร์พิโคลิเนต (Copper Picolinate), คอปเปอร์แอสพอร์เทต (Copper Asportate), คอปเปอร์ซิเทรต (Copper Citrate)

 

     ทองแดง ออกฤทธิ์อย่างไร

     ทองแดงไม่ได้มีบทบาทเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งในร่างกาย  แต่เป็นเกลือแร่จำเป็นเพื่อช่วยให้ปฎิกิริยามากมายทำงานได้คล่อง  เช่น การเปลี่ยนธาตุเหล็กให้กลายเป็นสารสีแดงในเลือดเรียก “ฮีโมโกลบิน” เพื่อทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจน  และช่วยสร้างกรดอะมิโนชื่อไทโรซีน  ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างสีที่เส้นผมและผิวหนัง  มีบทบาทในปฎิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนหลายชนิดซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต  ช่วยให้เส้นประสาททำงานตามปกติ  และช่วยในการปลดปล่อยพลังงาน  ทองแดงยังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการอักเสบ

 

     แหล่งทองแดงที่สำคัญ (ปริมาณเป็นหน่วยมิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)

     ตับลูกวัว 11 มิลลิกรัม/100 กรัม, หอยนางรม 7.5 มิลลิกรัม/100 กรัม, ปลาซาร์ดีน 2.4 มิลลิกรัม/100 กรัม, เมล็ดทานตะวัน 2.27 มิลลิกรัม/100 กรัม, ปู 1.37 มิลลิกรัม/100 กรัม, ถั่วลิสง 1.2 มิลลิกรัม/100 กรัม, เห็ด 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม, ขนมปังโฮลวีต 0.26 มิลลิกรัม/100 กรัม

 

     ตัวช่วยการดูดซึม

     โดยทั่วไปทองแดงจะถูกดูดซึมได้ดีในร่างกาย (ถึงแม้จะดูดซึมได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น)  อาหารมังสวิรัติมีทองแดงต่ำ

 

     ตัวยับยั้งการดูดซึม

     การกินสังกะสีมากเกินจะทำให้ปริมาณทองแดงเสียสมดุล เช่นเดียวกับการใช้ยาลดกรดแก้อาหารไม่ย่อยติดต่อกันนานๆ

 

     การกินผลิตภัณฑ์เสริม

     แม้ยังไม่มีการกำหนดค่า RDA สำหรับทองแดง  เราก็ควรตั้งเป้าบริโภคให้ได้ 1.2 มิลลิกรัมทุกวัน  ซึ่งจะเทียบเท่ากับการกินปลาซาร์ดีนขนาด 60 กรัม  นักโภชนาการสายกลางแนะนำว่าร่างกายต้องการทองแดง 2 มิลลิกรัมทุกวัน  และสามกินได้ถึง 5 มิลลิกรัม/วันเพื่อเติมส่วนขาดในร่างกาย  แม้ว่าในทางปฎิบัติแทบไม่พบภาวะขาดเกลือแร่ตัวนี้  ผลิตภัณฑ์เสริมเกลือแร่ชนิดรวมมักมีส่วนผสมของทองแดงในปริมาณ 1-2 มิลลิกรัม สารประกอบเกลือทองแดงที่ร่างกายดูดซึมได้ดีที่สุด คือคอปเปอร์อะมิโนแอซิตคีเลตกับคอปเปอร์กลูโคเนต  ขณะที่เกลือคอปเปอร์ซัลเฟตและคอปเปอร์ไนเตรตก็สามารถดูดซึมได้เช่นกัน

 

     ข้อควรระวัง

     ทองแดงอาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรนในคนที่ไวต่อเกลือแร่ตัวนี้  ไม่ค่อยพบการกินเกินขนาดแม้อาจเป็นไปได้หากดื่มน้ำจากท่อเก่าที่ทองแดงอาจละลายปนเปื้อน  พิษของทองแดงทำให้อาเจียน ท้องเสีย มีการสะสมที่ตับ ก่อโรคจิตเภท ภาวะกระดูกพรุนและกระดูกแตก  การกินทองแดงขนาดสูงจะทำให้แมกนีเซียมที่สะสมไว้ในร่างกายลดลงได้ด้วย

 

     ประโยชน์ของทองแดง ในการรักษาโรค

     - ปัญหาสุขภาพหัวใจ  การได้รับทองแดงในขนาดต่ำเกินไป อาจมีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) หรือการลดคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งระดับทองแดงที่ต่ำลงอาจมีส่วนที่เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและระบบเลือด  ซึ่งอาจจะนำไปสู่โรคหัวใจขั้นร้ายแรง การติดเชื้อ อาหารที่ขาดเกลือแร่ทองแดงอาจทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง  การได้รับทองแดงในขนาดปกติอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ

     - ภาวะกระดูกพรุน  เชื่อว่าระดับทองแดงในกระแสเลือดมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความหนาแน่นของมวลกระดูก  แม้กระทั่งการขาดทองแดงเพียงเล็กน้อยก็อาจกระตุ้นและทำให้ภาวะกระดูกพรุนเลวร้ายลง  การปรับปรุงกินอาหารครบหมู่อาจช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะกระดูกพรุนได้

     - ข้ออักเสบ  การรักษาโดยใช้ยาคอปเปอร์ซาลิไซเลตระยะสั้นสามารถลดไข้และการบวม และเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อในผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

    บีซีวี (BCV) : บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ, ลดไขมันหลอดเลือด, ช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่น 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2