โภชนบำบัด บอกลา 7 โรคร้ายด้วยการกิน

โภชนบำบัด บอกลา 7 โรคร้ายด้วยการกิน

 

     ถ้าไม่อยากเป็นโรคร้ายก็ต้องเปลี่ยนตัวเอง เริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินกันก่อนเลย จากกินให้เป็นโรค มาเป็นกินเพื่อรักษาโรค เว็บไซต์ emaginfo มีข้อมูลเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง

     พฤติกรรมการกินของคนสมัยนี้ เน้นไปที่หน้าตาและความอร่อย แต่จะบอกเลยว่ากินแบบนี้ก็ไม่ถูกวิธีนัก เพราะสุขภาพร่างกายของคนเราไม่ได้ต้องการอาหารอร่อย หรืออาหารหน้าตาดีให้เพลินพุง สำหรับร่างกายเราแล้ว "การกิน" ไม่ใช่กินอย่างไรให้อร่อย แต่เน้นเรื่อง "กินดี" เพื่อต้านโรค ถึงจะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายสูงสุด

     จะเห็นได้ว่าคนยุคนี้มีโรคภัยมากมายเกาะกุมรุมเร้า และอาหารการกินก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคของหลาย ๆ คนเช่นกัน แม้ตอนนี้กินตามใจแล้วดูไม่เห็นมีพิษมีภัยอะไร แต่อนาคตล่ะ จะรอดพ้นจากภัยโรคทั้งหลายหรือ ?

     จำไว้ให้แม่นเลยว่า… ถ้าคุณเป็นคนกินไม่เลือก ตามใจลิ้นอยู่ร่ำไป บอกเลยว่าอาจก่อให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรังต่าง ๆ ขึ้นตามมาได้ หลายคนอาจยังทันที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่บางคนถ้าสายเสียแล้วที่จะแก้ไข "วิธีโภชนบำบัด" (diet therapy) ที่เราจะกล่าวถึงก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย เพื่อให้การรักษาได้ผลอย่างเต็มประสิทธิภาพ ร่วมไปกับการรักษาทางการแพทย์

 

     โรคเบาหวาน : คุมน้ำตาล 

   โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ทำงานได้น้อยลง รวมทั้งเกิดความผิดปกติในการเผาผลาญสารอาหารด้วย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก

     การรักษาเบาหวานนั้น สิ่งสำคัญมากกว่าการรักษาด้วยยา คือ การควบคุมอาหาร ที่ทำไปพร้อมไปกับการควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

     ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานควรงดเว้นอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลทุกชนิด จำกัดปริมาณผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ รวมทั้งข้าว เพราะจะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

     ควรรับประทานผักประเภทใบที่มีใยอาหารสูงให้มากขึ้นในปริมาณไม่จำกัด เช่น ผักบุ้ง ผักกาดขาว ส่วนอาหารจำพวกโปรตีนยังสามารถกินได้ปกติ แต่ควรระมัดระวังเรื่องน้ำหนักตัว เพราะจะส่งผลโดยตรงกับอาการของเบาหวาน

 

     โรคหลอดเลือดแข็งและคอเลสเตอรอล : คุมไขมันอิ่มตัว

     ภาวะไขมันในเลือดสูงจะมีผลให้ไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือดจนขาดความยืดหยุ่นและอุดตันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ถ้าเกิดการอุดตันจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

     ไขมันที่พบว่าเกิดการสะสม คือ คอเลสเตอรอล เพื่อความปลอดภัยองค์การอนามัยโลกได้เสนอให้ควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดให้ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร

     เมื่อคอเลสเตอรอลได้จากอาหาร ก็ต้องควบคุมโดยลดการกินไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ ไข่แดง นม น้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เพิ่มปริมาณอาหารที่มีใยอาหารให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวโอ๊ต เพราะใยอาหารจะจับกับคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็กทำให้ถูกดูดซึมได้น้อย และจะถูกขับออกมาทางอุจจาระ นอกจากนี้ แหล่งไขมันที่ควรได้รับในแต่ละวันควรมาจากไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว อย่างน้อย 10-12% ของพลังงานทั้งหมด

 

     โรคอ้วน : คุมสัดส่วนอาหาร

     น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานเกิดจากร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความต้องการ จึงเกิดการสะสมในรูปของไขมัน จนอาจทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติและเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ข้ออักเสบ และระบบทางเดินหายใจ

     การรักษาจะต้องเริ่มจากสาเหตุ คือควบคุมปริมาณการกินอาหารให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม และออกกำลังกายให้มากขึ้น

     ในส่วนของอาหารนั้นจำเป็นต้องกินอาหารให้ครบทุกมื้อ แต่ลดพลังงานลงวันละ 500 แคลอรี่ จะสามารถลดน้ำหนักลงได้สัปดาห์ละ 1/2 กิโลกรัม เช่น เปลี่ยนจากกินข้าวมาเป็นผักที่มีใยอาหารสูงเพื่อให้อิ่มนานขึ้น งดอาหารที่มีไขมันมาก เช่น เนื้อติดมัน อาหารทอด และงดอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารทุกมื้อควรมีปริมาณโปรตีนที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ แทนที่จะเป็นเนื้อสัตว์ที่มักจะมีไขมันสูง

 

     โรคไต : เน้นโปรตีนต่ำ

     ไต ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย แต่ส่วนใหญ่จากการเผาผลาญของโปรตีน ดังนั้นอาหารที่ทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นในการขับถ่ายของเสีย คือ โปรตีน โรคเกี่ยวกับไตมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่โดยสรุปก็คือทำให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่อย่างปกติได้ หลักสำคัญในการรักษาด้วยอาหารคือช่วยให้ไตทำงานน้อยลง เพื่อให้ไตได้มีโอกาสพักหรือฟื้นตัว และลดการคั่งของของเสีย อาหารที่รับประทานควรจะมีปริมาณโปรตีนน้อย แต่เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ เพื่อนำไปช่วยเสริมสร้างทดแทนเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่สูญเสียไป

     แต่สำหรับผู้ที่เป็นไตวายเรื้อรังจะมีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง จำเป็นต้องงดโปรตีนที่มาจากนม ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ และไข่ เพราะเป็นอาหารที่มีปริมาณฟอสเฟตสูง

     เมื่อจำกัดปริมาณโปรตีนในอาหารแล้ว พลังงานส่วนใหญ่ที่ได้รับจึงมาจากน้ำตาล ไขมัน และแป้งที่มีโปรตีนน้อย เช่น วุ้นเส้น แป้งมัน ข้าวโพด มันสำปะหลัง วุ้น ลูกชิด สาคู เป็นต้น รวมทั้งจำกัดการได้รับโซเดียม โดยหลีกเลี่ยงสารปรุงรสที่มีเกลือโซเดียมเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น

 

     โรคความดันโลหิตสูง : ระวังเกลือ

     ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากแรงดันภายในหลอดเลือดแดงสูงตลอดเวลา โดยแรงดันค่าสูงสุด (systolic blood pressure) และแรงดันค่าต่ำสุด (diastolic blood pressure) มีค่าสูงกว่า 160/95

     โรคความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมามากมาย คือหลอดเลือดแดง ไม่แข็งแรง เลือดไปเลี้ยงไม่สะดวก โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นในบริเวณอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต หรือจอตา ก็จะส่งผลให้เกิดอันตรายหรือถึงแก่ชีวิตได้

     หลักการรักษาโรคความดันโลหิตสูงคือการควบคุมอาหาร การลดน้ำหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมทั้งหลีกเลี่ยงความเครียด การดื่มเหล้า และสูบบุหรี่

     อาหารที่ควรจำกัดคืออาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมอยู่มาก เพราะโซเดียมที่อยู่ในเกลือจะทำหน้าที่ในการควบคุมสมดุลแรงดันของผนังเซลล์ และปริมาณน้ำในร่างกาย อาหารที่มีเกลือโซเดียมมาก ได้แก่ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่าง ๆ อาหารทะเล และยาบางชนิด

นอกจากนี้ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันมาก เพราะจะทำให้การควบคุมน้ำหนักเป็นไปได้ยาก โดยน้ำหนักที่เกินมาตรฐานจะทำให้หัวใจ ทำงานหนักมากขึ้นด้วย

 

     โรคเกาต์ : เบากรดยูริก

     โรคเกาต์เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับกรดยูริก (uric acid) ในเลือดสูง ร่างกายได้รับกรดยูริกจากอาหาร และจากการสังเคราะห์ขึ้นในร่างกายโดยการสลายตัวของเซลล์ต่าง ๆ โดยจะมีอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของบริเวณที่มีการสะสมของกรดยูริก โดยเฉพาะบริเวณเนื้อเยื่อข้อต่อของกระดูก ทำให้ข้อกระดูกเสื่อม และกระดูกบริเวณนั้นผิดรูปได้

     อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์จะต้องมีสัดส่วนของสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นแหล่งของกรดยูริก เช่น เครื่องในสัตว์ ถั่วต่าง ๆ ไข่ปลา ชะอม กะปิ ปลาซาร์ดีนกระป๋อง สัตว์ปีก กุ้งชีแฮ้ หอย น้ำต้มกระดูก ซุปก้อน ปลาขนาดเล็ก เห็ด กระถิน ยีสต์ ปลาอินทรีย์ เป็นต้น

     ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ควรกินอาหารที่มีไขมันน้อยลงเพื่อให้น้ำหนักลดลง ถ้ากินไขมันมากเกินไปจะทำให้ขับถ่ายกรดยูริกได้ไม่ดี แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรได้รับอาหารที่มีพลังงานต่ำจนเกินไป เพราะร่างกายจะมีการสลายไขมันจากเนื้อเยื่อ ออกมาใช้ ทำให้มีปริมาณกรดยูริกสะสมเพิ่มขึ้นและขับถ่ายออกจากร่างกายลดลง

     น้ำตาลและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรงดเพราะมีผลต่อการขับถ่ายกรดยูริกด้วยเช่นกัน

 

     โรคมะเร็ง : ระวังอาหาร

     มะเร็ง (cancer) เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติ โดยจะขยายเซลล์ไปทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง รวมทั้งกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ด้วย พบว่าอัตราการเสียชีวิตของประชากรโลกจากมะเร็งเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้น ได้แก่ มลพิษจากสภาพแวดล้อมและอาหาร ข้อมูลต่าง ๆ จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการกินอาหารมีผลกับการเกิดโรคมะเร็งมาก เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งจึงควรปฏิบัติดังนี้

     จำกัดอาหารที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากพบว่ามะเร็งในลำไส้ใหญ่มักเกิดในกลุ่มผู้ที่กินอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูงเป็นเวลานาน ๆ

     หลีกเลี่ยงอาหารหมักดองหรือรมควันที่จะก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

     กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักที่มีสารซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง ได้แก่ อินดอล (indole) อะโรมาติกไอโซไทโอไซยาเนต (aromatic isothiocyanate) ในดอกกะหล่ำม่วง บรอคโคลี รวมทั้งผักและผลไม้ที่เป็นแหล่งของวิตามินซีและอี เช่น มะเขือเทศ ส้ม มะนาว จมูกข้าวสาลี ดอกคำฝอย ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ที่จะช่วยลดการทำลายของเนื้อเยื่อที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง

     สำหรับแนวทางการจัดอาหารสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็ง คือ ให้มีสารอาหารครบสัดส่วนตามที่ร่างกายต้องการ โดยอาจจำเป็นต้องแบ่งอาหารออกเป็นหลายมื้อ ดัดแปลงอาหารให้น่ากิน รสชาติดี เนื่องจากความบกพร่องของระบบย่อยอาหารและปัญหาด้านจิตใจ ที่สำคัญควรเป็นอาหารที่ปรุงสุก

     อาหารที่ดีนอกจากปรุงแต่งรสชาติได้อร่อยถูกใจแล้ว การเลือกสรรสารอาหารให้ได้สัดส่วนและเหมาะสมกับแต่ละคนยังเป็นการป้องกันโรคได้ หรืออย่างน้อยการระวังในการกินสักหน่อยก็ทำให้คนเราอยู่กับโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ลำบากมากนัก

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

    ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ไตร-แฟกเตอร์ (Transfer Factor Tri-Factor) : เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน 283% + ปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน สำหรับ ภูมิแพ้, หอบหืด, ภูมิคุ้มกันกันทำลายตัวเอง เช่น รูมาตอยด์, สะเก็ดเงิน, เอสแอลอี, กล้ามเนื้ออ่อนแรง

    ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ พลัส (Transfer Factor Plus Tri-Factor) : เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน 437% สำหรับ มะเร็ง เนื้องอก ติดเชื้อต่างๆ เช่น หวัด วัณโรค ตับอักเสบ เอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ เชื้อรา แบคทีเรีย

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2